จดทะเบียนบริษัท


ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง

เมื่อ: 27 พ.ค. 2557
1,091 ผู้ชม

Admin

ภาษีซื้อต้องห้าม
หมายถึง ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่17) ดังนี้
ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม
1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
o (1) ไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น
o (2) มีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อเป็นกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรได้
2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีซื้อนั้นถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มควรตรวจสอบใบกำกับภาษีว่ามีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ก่อนที่จะรับมอบใบกำกับภาษีนั้น
3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นภาษีซื้อที่จากรายจ่ายเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกำกับภาษีนั้นจะมีรายกานครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้นั้น ต้องไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
o (1) ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และ ไม่ว่าอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
o (2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น
5. 5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
ผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี มีดังนี้
o (1) บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
o (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนทำการออกใบกำกับภาษีในนานของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
o (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำออกมาขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นหรือโดยบุคคลอื่น
6. 6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
ภาษีซื้อตามประกาศอธิการบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ มีดังนี้
o (1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และ ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรสามิต
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
หมายเหตุ :
“รถยนต์นั่ง” คือ รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะถาวรด้างข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
“รถยนต์โดยสาร” คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมากรวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
o (2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
o (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
o (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น
o (5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการในใบกำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
o (6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
o (7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับและใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
o (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
o (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
o (10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบิดีกำหนด
หมายเหตุ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
- การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบล หรือแขวง อำเภอ หรือเขต หรือจังหวัดใหม่
o - การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน
ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
o (11)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือหรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิด 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
o (12)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

pangpond

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำภาษีซื้อต้องห้ามมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีรวมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้
เบี้ยปรับจากการนำภาษีซื้อต้องห้าม! มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 กรณี
1. เบี้ยปรับ 1 เท่า
- ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
- ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
- ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
หากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีข้างต้นไปคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้คำนวณภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป ตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เบี้ยปรับ 2 เท่า
กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ :
o (1) ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
o (2) ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ง 2,000 บาท
เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง
เมื่อ - 27 พ.ค. 2557


กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
































เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. | รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี | รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน