Username
Password
Sign in
สมัครสมาชิกใหม่
HOME
ABOUT
SERVICES
WEBBOARD
CONTACT
เว็บบอร์ด
>
ปรึกษาบัญชี
>
ค่านายหน้าต่างประเทศ
ค่านายหน้าต่างประเทศ
เมื่อ: 8 มิ.ย. 2557
804 ผู้ชม
Share Facebook
Guest
รับค่านายหน้าจากต่างประเทศต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
โดยปกติค่านายหน้าเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าผู้รับมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีกรณียกเว้นค่านายหน้าที่ได้รับจากต่างประเทศ ที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 ข้อ 2 (3) “มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้า หรือให้บริการกับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน”
ตัวอย่างค่านายหน้ารับจากต่างประเทศที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บริษัทเป็นนายหน้าขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศสิงคโปร์ และบริษัทในสิงค์โปร์ได้ขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศเวียดนาม บริษัทจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.1564 ลว.29 มกราคม 2539)
ตัวอย่างค่านายหน้ารับจากต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้ทำการติดต่อในการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศกับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ ทำให้บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ ถือว่า บริษัทฯ เป็นนายหน้าขายสินค้าของบริษัทในต่างประเทศ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่นำค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทในต่างประเทศมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิ และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือตอบกรมสรรพากรที่ กค 0811/พ.09658 ลว. 14 กันยายน 2542
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
กิจการซื้อมาขายไป คำว่าสินค้าสำเร็จรูปคง...
ปรึกษาเรื่อง เงินยืมกรรมการและลูกหนี้เงิ...
อุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องจักร บันทึกบัญชีอย่...
ภงด.1 กับ ภงด.1ก แตกต่างกันอย่างไร
ภาษีซื้อต้องห้าม คือ หมายถึง
ชื่อนิติบุคคล สถานะ "ร้าง" คืออะไร เร...
การคิดอัตราค่าล่วงเวลา
วิธีการบัญชีการร่วมค้า โดยเปิดสมุดบัญชีก...
วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน
ภาษี หักณที่จ่าย ค่าขนส่ง
ขอตัวอย่างรายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารด...
ให้กรรมการยืมเงินกิจการไป ไม่คิดดอกเบี้ย...
การประชุมสามัญ และการประชุมวิสามัญ
ค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มหากยื่นแบบเกินกำหนด...
ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชีของบร...
บริษัทกับ หจก.ต่างกันอย่างไร
หัก ณ ที่จ่ายไม่ตรงกับวันที่ในใบเสร็จ
ขอทราบความแตกต่างระหว่าง RETENTION กับ B...
การบันทึกบัญชีเงินกู้ยืมระหว่างกัน
วิธีการทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
การกรอก ภงด. 50 + การยื่นงบ + การเปลี่ยน...
ตัวอย่างสัญญากิจการร่วมค้า
ขอคืนอากรทำอย่างไรค่ะ
ศาลพระภูมิ บันทึกเป็นทรัพย์สินของกิจการไ...
เปิดร้านขายกาแฟสด ขายกาแฟไม่มีใบเสร็จสัก...
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อมูลการเดินทางจังหวัดเชียงใหม่
สัญญาเช่าทรัพย์สิน
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่า...
บริษัทขาดทุน
เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. |
รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี
|
รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน
โดยปกติค่านายหน้าเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าผู้รับมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีกรณียกเว้นค่านายหน้าที่ได้รับจากต่างประเทศ ที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 ข้อ 2 (3) “มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้า หรือให้บริการกับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน”
ตัวอย่างค่านายหน้ารับจากต่างประเทศที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บริษัทเป็นนายหน้าขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศสิงคโปร์ และบริษัทในสิงค์โปร์ได้ขายสินค้าให้กับบริษัทในประเทศเวียดนาม บริษัทจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.1564 ลว.29 มกราคม 2539)
ตัวอย่างค่านายหน้ารับจากต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้ทำการติดต่อในการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศกับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ ทำให้บริษัทในต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ ถือว่า บริษัทฯ เป็นนายหน้าขายสินค้าของบริษัทในต่างประเทศ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่นำค่านายหน้าที่ได้รับจากบริษัทในต่างประเทศมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิ และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือตอบกรมสรรพากรที่ กค 0811/พ.09658 ลว. 14 กันยายน 2542