Username
Password
Sign in
สมัครสมาชิกใหม่
HOME
ABOUT
SERVICES
WEBBOARD
CONTACT
เว็บบอร์ด
>
ปรึกษาบัญชี
>
การคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลา
การคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลา
เมื่อ: 11 มิ.ย. 2557
717 ผู้ชม
Share Facebook
Admin
+++ การคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลา +++
การทำงานล่วงเวลา หรือทำงานพิเศษนั้น ขอจำแนกตามกฎหมายออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. การทำงานล่วงเวลาในวันปกติ
2. การทำงานในวันหยุด
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ซึ่งจะขออธิบายการคิดคำนวณเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การทำงานล่วงเวลา การทำงานที่เกินจากการทำงานเวลาปกติไปแล้ว พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 61 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 (หนึ่งเท่าครึ่ง) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
เช่น จากตัวอย่างข้างต้นเราได้มาแล้วว่า อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติของเรานั้นอยู่ที่ 41.67 บาทต่อชั่วโมงดังนั้นหากเราอยากรู้ว่า วันนี้เราทำงานล่วงเวลาไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาเท่าไร ก็สามารถคำนวณง่ายๆโดย ( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 1.5 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา สำหรับกรณีตัวอย่างข้างต้น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 1.5) X 1 ชั่วโมง = 62.50 บาท ครับ
*** หมายเหตุ การทำงานล่วงเวลา นอกจากจะมีกฎหมายกำหนดค่าจ้างเอาไว้แล้ว ยังมีกฎหมายกำหนดวิธีการจัดการที่ลูกจ้างต้องรู้อีกด้วย เช่น
- ห้ามนายจ้างบังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ยกเว้นลูกจ้างยินยอม (มาตรา 24)
- การทำงานล่วงเวลาเกินจากเวลาปกติ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา (มาตรา 27 วรรค 4)
- งานบางอย่าง บางหน้าที่ อาจไม่ได้รับค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ที่ 1.5 เท่าตามมาตรา 61 แต่จะได้รับเพียง 1 เท่าเพียงเท่านั้น เช่น ลูกจ้างที่ทีหน้าที่กระทำการแทนนายจ้าง , งานเปิดปิดประตูระบายน้ำ ฯลฯ (มาตรา 65)
2. การมาทำงานในวันหยุด ประเด็นนี้ขอแยกออกเป็นข้อย่อย 2 ประเภทคือ พนักงานรายเดือน และพนักงานรายวัน เนื่องจาก
- พนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ถือเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด นั้นคือตามกฎหมายแล้ว วันเสาร์อาทิตย์ที่ลูกจ้างหยุด ถือว่าได้รับค่าจ้างตามกฎหมายอยู่แล้ว
- พนักงานรายวัน พนักงานประเภทนี้ วันไหนมาทำงานจึงได้ค่าจ้าง วันไหนไม่มาทำงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้นพนักงานรายวันถือว่าเป็นพนักงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ดังนั้นการคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาสำหรับพนักงานสองประเภทนี้ จึงต่างกันออกไป ดังนี้
2.1 กรณีพนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า (มาตรา 62 (1)
2.2 กรณีพนักงานรายวัน ให้ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า (มาตรา 62 (2)
สำหรับประเด็นที่ผมยกกฎหมายมาอ้างอิงนั้น เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันว่า บริษัทนี้ให้ที่ 1 เท่า บริษัทนั้นให้ที่ 2 เท่า เพราะพื้นฐานที่ให้อยู่เพียง 1 เท่าเท่านั้นหากบริษัทใดให้มากกว่า 1 เท่าแล้ว ถือว่าเป็นคุณต่อลูกจ้าง และไม่ได้ถือว่าผิดแต่อย่างใดครับ
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
หลังจากที่ทำงานในวันหยุดครบ 8 ชั่วโมงไปแล้ว หรือหลังเวลาเลิกงานในวันหยุดไปแล้ว หากต้องทำงานล่วงเวลา การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะคล้ายๆกับการคำนวณการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เพียงแต่เปลี่ยนจาก 1.5 เท่า เป็นอัตราชั่วโมงละไม่น้อยกว่า 3 (สาม) เท่า เท่านั้นเองครับ (มาตรา 63)
ดังนั้นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเลย การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะเท่ากับ
( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 3.0 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา
เช่น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 3.0) X 1 ชั่วโมง = 125 บาท ครับ
ซึ่งจากทั้งหมดที่ผมได้เรียบเรียงนำเสนอมานั้น คิดว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆพันทิปไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องดังกล่าว ยังสามารถแตกประเด็นและปัญหาการจัดการไปได้อีกมาก ซึ่งหากผมเขียนบรรยายจนหมด คงใช้เวลามาก เอาเป็นว่าหากท่านใดมีปัญหาสอบถามอันสืบเนื่องจากเรื่องดังกล่าว สามารถสอบถามมาได้เลยครับ ผมและเพื่อนๆสมาชิกจะช่วยกันแชร์ความรู้ให้แก่กันครับ
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
กิจการซื้อมาขายไป คำว่าสินค้าสำเร็จรูปคง...
ปรึกษาเรื่อง เงินยืมกรรมการและลูกหนี้เงิ...
อุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องจักร บันทึกบัญชีอย่...
หนังสือบริคณห์สนธิคืออะไร
ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง
ภงด.1 กับ ภงด.1ก แตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่าง การทำบัญชีแยกประเภท
ชื่อนิติบุคคล สถานะ "ร้าง" คืออะไร เร...
การคิดอัตราค่าล่วงเวลา
วิธีการบัญชีการร่วมค้า โดยเปิดสมุดบัญชีก...
ขอตัวอย่างรายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารด...
ให้กรรมการยืมเงินกิจการไป ไม่คิดดอกเบี้ย...
การตัดจำหน่ายหนี้สูญ
การกรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.94ต้องทำอย่างไร
ค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มหากยื่นแบบเกินกำหนด...
ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชีของบร...
ขอทราบความแตกต่างระหว่าง RETENTION กับ B...
บันทึกรับรู้รายได้กิจการฝากขาย
ค่านายหน้าต่างประเทศ
การบันทึกบัญชีเงินกู้ยืมระหว่างกัน
ค่าที่พักโรงแรม ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายหร...
ส่วนปรับปรุงอาคารที่เช่ามา สัญญาเหลือ 2 ...
การกรอก ภงด. 50 + การยื่นงบ + การเปลี่ยน...
ภาษีครึ่งปีต้องยื่นเมื่อไหร่ค่ะ
ตัวอย่างสัญญากิจการร่วมค้า
ขอคืนอากรทำอย่างไรค่ะ
ใช้หน้าบ้าน เปิดเป็นร้านขายอะไหล่
การจดทะเบียนในการประกอบธุรกิจ mini mart ...
ถามเรื่องถ่ายโอนจดทะเบียนพาณิชย์
บริษัทค้างจ่ายเงินเดือนแต่พนักงานก็เบิกล...
เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. |
รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี
|
รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน
การทำงานล่วงเวลา หรือทำงานพิเศษนั้น ขอจำแนกตามกฎหมายออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. การทำงานล่วงเวลาในวันปกติ
2. การทำงานในวันหยุด
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ซึ่งจะขออธิบายการคิดคำนวณเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การทำงานล่วงเวลา การทำงานที่เกินจากการทำงานเวลาปกติไปแล้ว พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 61 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 (หนึ่งเท่าครึ่ง) ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
เช่น จากตัวอย่างข้างต้นเราได้มาแล้วว่า อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติของเรานั้นอยู่ที่ 41.67 บาทต่อชั่วโมงดังนั้นหากเราอยากรู้ว่า วันนี้เราทำงานล่วงเวลาไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาเท่าไร ก็สามารถคำนวณง่ายๆโดย ( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 1.5 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา สำหรับกรณีตัวอย่างข้างต้น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 1.5) X 1 ชั่วโมง = 62.50 บาท ครับ
*** หมายเหตุ การทำงานล่วงเวลา นอกจากจะมีกฎหมายกำหนดค่าจ้างเอาไว้แล้ว ยังมีกฎหมายกำหนดวิธีการจัดการที่ลูกจ้างต้องรู้อีกด้วย เช่น
- ห้ามนายจ้างบังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ยกเว้นลูกจ้างยินยอม (มาตรา 24)
- การทำงานล่วงเวลาเกินจากเวลาปกติ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา (มาตรา 27 วรรค 4)
- งานบางอย่าง บางหน้าที่ อาจไม่ได้รับค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ที่ 1.5 เท่าตามมาตรา 61 แต่จะได้รับเพียง 1 เท่าเพียงเท่านั้น เช่น ลูกจ้างที่ทีหน้าที่กระทำการแทนนายจ้าง , งานเปิดปิดประตูระบายน้ำ ฯลฯ (มาตรา 65)
2. การมาทำงานในวันหยุด ประเด็นนี้ขอแยกออกเป็นข้อย่อย 2 ประเภทคือ พนักงานรายเดือน และพนักงานรายวัน เนื่องจาก
- พนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ถือเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด นั้นคือตามกฎหมายแล้ว วันเสาร์อาทิตย์ที่ลูกจ้างหยุด ถือว่าได้รับค่าจ้างตามกฎหมายอยู่แล้ว
- พนักงานรายวัน พนักงานประเภทนี้ วันไหนมาทำงานจึงได้ค่าจ้าง วันไหนไม่มาทำงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้นพนักงานรายวันถือว่าเป็นพนักงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ดังนั้นการคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาสำหรับพนักงานสองประเภทนี้ จึงต่างกันออกไป ดังนี้
2.1 กรณีพนักงานรายเดือน หรือพนักงานประจำ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า (มาตรา 62 (1)
2.2 กรณีพนักงานรายวัน ให้ ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า (มาตรา 62 (2)
สำหรับประเด็นที่ผมยกกฎหมายมาอ้างอิงนั้น เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันว่า บริษัทนี้ให้ที่ 1 เท่า บริษัทนั้นให้ที่ 2 เท่า เพราะพื้นฐานที่ให้อยู่เพียง 1 เท่าเท่านั้นหากบริษัทใดให้มากกว่า 1 เท่าแล้ว ถือว่าเป็นคุณต่อลูกจ้าง และไม่ได้ถือว่าผิดแต่อย่างใดครับ
3. การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
หลังจากที่ทำงานในวันหยุดครบ 8 ชั่วโมงไปแล้ว หรือหลังเวลาเลิกงานในวันหยุดไปแล้ว หากต้องทำงานล่วงเวลา การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะคล้ายๆกับการคำนวณการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เพียงแต่เปลี่ยนจาก 1.5 เท่า เป็นอัตราชั่วโมงละไม่น้อยกว่า 3 (สาม) เท่า เท่านั้นเองครับ (มาตรา 63)
ดังนั้นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเลย การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะเท่ากับ
( อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงปกติ คูณด้วย 3.0 เท่า) คุณ จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา
เช่น อัตราทำงานล่วงเวลาในวันปกติจะอยู่ที่ (41.67 X 3.0) X 1 ชั่วโมง = 125 บาท ครับ
ซึ่งจากทั้งหมดที่ผมได้เรียบเรียงนำเสนอมานั้น คิดว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆพันทิปไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องดังกล่าว ยังสามารถแตกประเด็นและปัญหาการจัดการไปได้อีกมาก ซึ่งหากผมเขียนบรรยายจนหมด คงใช้เวลามาก เอาเป็นว่าหากท่านใดมีปัญหาสอบถามอันสืบเนื่องจากเรื่องดังกล่าว สามารถสอบถามมาได้เลยครับ ผมและเพื่อนๆสมาชิกจะช่วยกันแชร์ความรู้ให้แก่กันครับ