การตรวจสอบการยักยอกเงินโดยวิธี LAPPING
เมื่อ: 13 มิ.ย. 2557
1,013 ผู้ชม
Admin
วิธีการตรวจสอบการยักยอกเงินโดยวิธี LAPPING มีวิธีและขั้นตอนการตรวจสอบอย่างไรบ้างค่ะ...สงสัยค่ะ...?
pangpond
สำหรับการ Lapping คือการยักยอกแบบวนใช้คืน (ไม่ได้เอาไปแล้วเอาไปเลยค่ะ)เช่น วันที่ 1 เก็บเงินลูกค้าได้จำนวนหนึ่ง ในวันนั้นอาจจะนำส่งบางส่วนหรือไม่นำส่งทั้งหมด หลังจากนั้นในวันหลังจึงค่อยนำส่วนที่เอาไปใช้นั้นมาคืน พูดง่าย ๆ คือ การ Lapping คือการยักยอกผลประโยชน์ที่จะได้จากเงินนั้น แต่ไม่ได้มุ่งจะเอาเงินนั้นไปใช้โดยตรง เช่น บางคนอาจจะเอาไปใช้จ่ายกรณีเร่งด่วน (สำหรับเขา) แล้วพอเงินเดือนออกก็นำมาใช้คืน เป็นต้น
การตรวจสอบการทำ Lapping จะต้องตรวจสอบเรื่องเอกสารที่เกี่ยวกับการรับเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน(สำเนาทุกใบ รวมถึงตัวจริงที่ออกให้กับลูกค้า), เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเงิน เช่น ใบนำฝากธนาคาร ว่าวันที่ที่ระบุ และจำนวนเงินถูกต้องตรงกันหรือไม่ และยังต้องตรวจสอบถึง ยอดเงินรวมของใบเสร็จเทียบกับใบเรียกเก็บหนี้ (หรือ Invoice) ว่าตรงกันหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่า Invoice ที่จะนำไปเก็บเงินยังอยู่ครบตามจำนวนที่ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และอาจจะต้องตรวจสอบความสอดคล้องของวันที่ที่ระบุการไปเก็บเงินว่า เข้ากันได้กับเส้นทางการเดินทาง เพื่อติดต่อกับลูกค้าหรือไม่ด้วยนะค่ะ
เคยมีกรณีที่ตรวจพบคือ มี Invoice ที่จะเรียกเก็บหลายใบ ผู้แทนขายไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จถูกต้องตรงตามยอดทุกอย่าง ยกเว้นสำเนาที่ติดเล่ม + สำเนาที่ส่งคืน จะใช้กระดาษสอดทำให้เขียนไม่ติดตอนออกใบเสร็จ จากนั้นจึงค่อยเขียนตัวเลข (บนกระดาษแผ่นอื่น) เพื่อให้เกิดตัวเลขบนสำเนาอีกทีจากนั้นจึงนำส่งธนาคารด้วยตัวเลขที่ปลอมขึ้นนั้น หลังจากนั้นจึงค่อยนำเงินเข้าธนาคาร/ออกใบเสร็จอีกใบเพื่อให้ยอดเงินรวมกันได้พอดีกับยอดเต็ม (ในอีกหลายวันให้หลัง-หลังจากที่เอาเงินไปหมุนใช้เพื่อการอื่นเรียบร้อยแล้ว)
การตรวจสอบการทำ Lapping จะต้องตรวจสอบเรื่องเอกสารที่เกี่ยวกับการรับเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน(สำเนาทุกใบ รวมถึงตัวจริงที่ออกให้กับลูกค้า), เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเงิน เช่น ใบนำฝากธนาคาร ว่าวันที่ที่ระบุ และจำนวนเงินถูกต้องตรงกันหรือไม่ และยังต้องตรวจสอบถึง ยอดเงินรวมของใบเสร็จเทียบกับใบเรียกเก็บหนี้ (หรือ Invoice) ว่าตรงกันหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่า Invoice ที่จะนำไปเก็บเงินยังอยู่ครบตามจำนวนที่ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และอาจจะต้องตรวจสอบความสอดคล้องของวันที่ที่ระบุการไปเก็บเงินว่า เข้ากันได้กับเส้นทางการเดินทาง เพื่อติดต่อกับลูกค้าหรือไม่ด้วยนะค่ะ
เคยมีกรณีที่ตรวจพบคือ มี Invoice ที่จะเรียกเก็บหลายใบ ผู้แทนขายไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จถูกต้องตรงตามยอดทุกอย่าง ยกเว้นสำเนาที่ติดเล่ม + สำเนาที่ส่งคืน จะใช้กระดาษสอดทำให้เขียนไม่ติดตอนออกใบเสร็จ จากนั้นจึงค่อยเขียนตัวเลข (บนกระดาษแผ่นอื่น) เพื่อให้เกิดตัวเลขบนสำเนาอีกทีจากนั้นจึงนำส่งธนาคารด้วยตัวเลขที่ปลอมขึ้นนั้น หลังจากนั้นจึงค่อยนำเงินเข้าธนาคาร/ออกใบเสร็จอีกใบเพื่อให้ยอดเงินรวมกันได้พอดีกับยอดเต็ม (ในอีกหลายวันให้หลัง-หลังจากที่เอาเงินไปหมุนใช้เพื่อการอื่นเรียบร้อยแล้ว)
เมื่อ - 13 มิ.ย. 2557
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่