Username
Password
Sign in
สมัครสมาชิกใหม่
HOME
ABOUT
SERVICES
WEBBOARD
CONTACT
เว็บบอร์ด
>
ปรึกษาบัญชี
>
ค่าลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อนภาษี
เมื่อ: 16 มิ.ย. 2557
939 ผู้ชม
Share Facebook
Guest
"ค่าหย่อนทางภาษี"
-เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินสะสม กบข. ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
-บุตร หรือบุตรบุญธรรม หักได้คนละ 15,000 บาท และเฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท
-อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท
-อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักได้คนละ 60,000 บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย
-เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
-เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
-ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
-ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
-ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีร่วมกันกู้ยืม ให้เฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
-เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักได้ตามจำนวนที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งในปี 2555 สามารถหักได้สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
-เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
-เงินบริจาค ลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
-ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หักได้ 10% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 5 ล้านบาทในโครงการบ้านหลังแรก เป็นเวลา 5 ปี
-อื่น ๆ เช่น (1).ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท (2).เว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
กิจการซื้อมาขายไป คำว่าสินค้าสำเร็จรูปคง...
ปรึกษาเรื่อง เงินยืมกรรมการและลูกหนี้เงิ...
อุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องจักร บันทึกบัญชีอย่...
หนังสือบริคณห์สนธิคืออะไร
ต้นทุนทางการเงิน คืออะไรค่ะ
IFRS Implementation: Impacts beyond Acou...
ภพ 30 คืออะไร
บันทึกบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างไรครับ
การวางระบบบัญชีงานรับเหมาก่อสร้าง ทำอย่า...
บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ไม่ใช่ที่อยู่ที่ บริษ...
การตรวจสอบการยักยอกเงินโดยวิธี LAPPING
การกรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.94ต้องทำอย่างไร
ในกรณีที่ได้รับค่านายหน้าจากต่างประเทศ ต...
หนี้สงสัยจะสูญ
สั่งพิมพ์แบบฟอร์มเอกสาร หัก ณ ที่จ่าย ได...
ภาษีขนส่ง
การยื่นแบบ บอจ.5
สัญญาเช่าซื้อรถผ่อน บันทึกบัญชีอย่างไร
ค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้าหัก ณ ที่จ่ายหรือ...
ต้องการข้อมูล รายงานงบกำไรขาดทุน หรือสถิ...
การนำใบกำกับภาษีค่าน้ำมันมาขอเคลมภาษี
หนังสือรับรองภาษาอังกฤษมีไหม
หัก ณที่จ่ายของดอกเบี้ยเงินกู้
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
จะทำลายทรัพย์สินเช่นเครื่องจักร ไม่ใช่สิ...
ภาษีครึ่งปีต้องยื่นเมื่อไหร่ค่ะ
ข้อแตกต่างกฎหมายภาษีอากร-มาตรฐานการบัญชี...
วิธีการปันส่วนผลิตภัณฑ์ร่วม
การลดผู้ถือหุ้นในบริษัท
งบเปล่าต้องยื่นไหมค่ะ
เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. |
รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี
|
รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน
-เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินสะสม กบข. ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
-เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
-บุตร หรือบุตรบุญธรรม หักได้คนละ 15,000 บาท และเฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท
-อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท
-อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักได้คนละ 60,000 บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย
-เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
-เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
-ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
-ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
-ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีร่วมกันกู้ยืม ให้เฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
-เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักได้ตามจำนวนที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งในปี 2555 สามารถหักได้สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
-เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
-เงินบริจาค ลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
-ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หักได้ 10% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 5 ล้านบาทในโครงการบ้านหลังแรก เป็นเวลา 5 ปี
-อื่น ๆ เช่น (1).ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท (2).เว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท