สินทรัพย์ถาวรมีกี่ประเภทและมีหลักเกณฑ์ต่างๆ อย่างไร
เมื่อ: 28 ต.ค. 2558
2,924 ผู้ชม
Guest
สินทรัพย์ถาวรมีกี่ประเภทและมีหลักเกณฑ์ต่างๆ อย่างไรบ้าง...?
pangpond
++++ สินทรัพย์ถาวรจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ++++
1. สินทรัพย์ที่มีตัวตน ( Tangible Fixed Assets ) เป็นสินทรัพย์ประเภทที่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ สัมผัสได้ ซึ่งโดยปกติแล้วสินทรัพย์ที่มีตัวตนจะแบ่งออกเป็น
ก. ไม่ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเนื่องจากอายุการใช้งานไม่จำกัด เช่น ที่ดิน
ข. ต้องคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ( Depreciation ) เนื่องจากสามารถกำหนดอายุการใช้งานได้ เช่น เครื่องจักร อาคาร เครื่องใช้สำนักงาน
ค. ต้องหักค่าเสื่อมสิ้น ( Depletion ) เนื่องจากใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ เหมืองแร่ บ่อก๊าซ
2. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( Intangible Fixed Assets ) เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ ไม่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ แต่ยังคงมีมูลค่าหรือสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นที่สามารถวัดค่าเป็นตัวเงินได้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ก. ต้องตัดบัญชี ( Amortized ) เนื่องจากระยะเวลาของสิทธิ์ที่ได้รับลดลงตามส่วนของค่าที่ลดลง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัญญาเช่า
ข. ไม่ต้องตัดบัญชี เนื่องจากไม่มีการเสื่อมค่าหรือเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์นั้น เช่น ค่าความนิยม เครื่องหมายการค้า
1. สินทรัพย์ที่มีตัวตน ( Tangible Fixed Assets ) เป็นสินทรัพย์ประเภทที่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ สัมผัสได้ ซึ่งโดยปกติแล้วสินทรัพย์ที่มีตัวตนจะแบ่งออกเป็น
ก. ไม่ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเนื่องจากอายุการใช้งานไม่จำกัด เช่น ที่ดิน
ข. ต้องคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ( Depreciation ) เนื่องจากสามารถกำหนดอายุการใช้งานได้ เช่น เครื่องจักร อาคาร เครื่องใช้สำนักงาน
ค. ต้องหักค่าเสื่อมสิ้น ( Depletion ) เนื่องจากใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ เหมืองแร่ บ่อก๊าซ
2. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ( Intangible Fixed Assets ) เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ ไม่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ แต่ยังคงมีมูลค่าหรือสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นที่สามารถวัดค่าเป็นตัวเงินได้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ก. ต้องตัดบัญชี ( Amortized ) เนื่องจากระยะเวลาของสิทธิ์ที่ได้รับลดลงตามส่วนของค่าที่ลดลง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัญญาเช่า
ข. ไม่ต้องตัดบัญชี เนื่องจากไม่มีการเสื่อมค่าหรือเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์นั้น เช่น ค่าความนิยม เครื่องหมายการค้า
เมื่อ - 23 มิ.ย. 2557
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่