การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้า เงื่อนไข FOB และ CIF
เมื่อ: 14 พ.ค. 2557
2,299 ผู้ชม
Guest
- ถ้าสั่งซื้อสินค้าเงื่อนไข FOB ควรจะตั้งหนี้ตั้งแต่สินค้าลงเรือที่ท่าเรือผู้ขาย และอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้นเลยหรือเปล่า- ถ้าสั่งซื้อ เงื่อนไข CIF บันทึกตั้งหนี้เมื่อสินค้าผ่านพิธีการและใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น หรือเปล่า และอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ควรเป็นของธปท.หรือของกรมศุลดี :'(
pangpond
- F.O.B. ย่อมาจาก Free On Broadโดยผู้ซื้อต้องจัดหาเรือมารับสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง เมื่อนำสินค้าขึ้นเรือแล้วถือได้ว่าผู้ซื้อได้รับมอบสินค้านั้นแล้ว หากมีความเสี่ยงภัยหรือภาระค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นหลังจากนั้น ภาระดังกล่าวต้องตกเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาระดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นขณะขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง ผู้ซื้อจะเป็นผู้ทำประกันภัยส่วนผู้ขายมีหน้าที่นำส่งสินค้าไปขึ้นที่เรือ ณ ท่าเรือที่กำหนด โดยผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะค่าลำเลียงสินค้าบรรทุกขึ้นเรือใหญ่เมื่อขึ้นเรือ(พ้นกราบเรือ) โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงภัยหรือภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าขณะขนส่งจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง เพราะฉะนั้นในกรณีนี้สินค้าเพิ่งถึงท่าเรือยังไม่ต้องตั้งหนี้ค่ะ เพราะอาจจะมีค่าใช่จ่ายอื่นนอกจากนี้อีกค่ะ-C.I.F. ย่อมาจาก Cost Insurance Freightโดยผู้ขายมีหน้าที่ต้องจัดหาเรือที่ท่าเรือต้นทางเพื่อขนส่งสินค้าไปยังเมืองปลายทาง และผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าเช่าเรือ ความเสี่ยงภัยของสินค้า หรือภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าขณะขนส่งจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงภัย ผู้ขายถึงจะจัดทำการประกันภัยระหว่างการขนส่งสินค้าส่วนอัตราแลกเปลี่ยนควรที่จะเป็นของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อ - 14 พ.ค. 2557
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่