กิจการขนส่ง ต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไหม
เมื่อ: 4 พ.ค. 2557
555 ผู้ชม
Guest
ประกอบกิจการขนส่ง หากมีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
pangpond
การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร และการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกิจการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน หรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักร สำหรับการให้บริการขนส่งทางทะเลโดยเรือเดินทะเล ตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 241) พ.ศ.2534 หากผู้ประกอบการประสงค์จะขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่กำหนดเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 81/3(3) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร สำหรับการให้บริการขนส่งทางทะเลโดยเรือเดินทะเลข้างต้น ให้รวมถึงการให้บริการขนส่งระหว่างทะเลกับแม่น้ำในราชอาณาจักรโดยเรือเดินทะเลด้วย ตามมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 241) พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 521) พ.ศ.2554
เมื่อ - 4 พ.ค. 2557
pangpond
เมื่อเริ่มธุรกิจรายรับที่ได้มาก็ไม่มากผู้ประกอบการขนาดเล็กๆ จึงมักไม่ค่อยคิดถึงเรื่องภาษี แต่เมื่อธุรกิจเริ่มเจริญเติบโตเริ่มมีรายรับมากขึ้นมัวแต่ทำธุรกิจเพลินไป หลายคนไม่เคยนึกเอะใจว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ หลายคนเอะใจว่าควรต้องเสียภาษีเพราะมีรายรับมากขึ้นโดยความรู้สึกพื้นๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่จะเริ่มต้นอย่างไร บางทีก็นึกไม่ออกก็เลยไม่เสียเลย ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อมีรายรับก็มีภาระภาษีตาม ส่วนจะต้องเสียหรือไม่เสีย หรือได้รับยกเว้นแค่ไหนเพียงใด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริงๆ แล้วภาษีสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับรายรับที่ได้มาหลักๆ แล้ว ก็มีภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วแต่ว่าทำกิจการที่ต้องเสียภาษีใดสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการก็ควรจะทราบว่าตนเองจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ มีจุดที่สังเกตได้ดังนี้1. เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจให้ครวจสอบดูว่า ทำธุรกิจประเภทใดเนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ซึ่งความหมายของคำที่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหมายดังนี้ คำว่า “สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ รวมทั้งสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า (มาตรา 77/1 (9) )คำว่า ”ขาย” หมายความว่า การจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง...(มาตรา77/1(8) )คำว่า ”บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าโดยมิใช่การขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง... (มาตรา 77/1 (9) )ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการต้องทราบตนเองว่ากำลังประกอบกิจการที่อยู่ในกิจการที่อยู่ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อ - 4 พ.ค. 2557
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่